Tuesday, August 19, 2014

เก๋ากี้ ยอดสมุนไพรจีน ยาเกร็กคู

เก๋ากี้ หรือ ชื่อภาษาอังกฤษ โกจิเบอร์รี่ (Goji Berry) หรือวูล์ฟเบอร์รี่ (Wolfberry) พวกเราอาจไม่รู้จักชื่อต่างๆ เหล่านี้ว่ามันเป็นสมุนไพรอะไร แต่ใครบางคนกินต้มจืด หรือไก๋ตุ๋นยาจี เราจะเห็นมีเม็ดแดงๆ คล้ายลูกเกดสีแสดอยู่ในชามนั้นๆ และยังพบได้ในอีกไม่ยากในหลากเมนูเด็ดย่านเยาวราช หรืออาหารจีนตามเหลา หรือในโต๊ะจีน เก๋ากี้ หรือ ลูกเบอร์รี่แห่งเอเชียที่กำลังมาแรงสุด ๆ ผลตากแห้งสามารถนำมาทานเล่น ใส่ในเมนูอาหารตำรับไทย จีน และฝรั่ง หรืออาจมาในรูปของน้ำผลไม้ ทุกวันนี้เก๋ากี้ถูกตอกหมุดให้เป็นหนึ่งใน "ซูเปอร์ฟู้ด" โดยเป็นสมุนไพร ที่มี วิตามินซี วิตามินเอ และอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มแคโรทีนอยด์ อย่างเบต้าแคโรทีนที่อัดแน่น มีงานวิจัยหลายงาน ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับสรรพคุณของ เก๋ากี้ และในบทความทางวิชาการของสถาบันวิจัยโภชนาการปักกิ่งในปี ค.ศ. 1988 ได้ถูกนำมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับการค้นพบ (ที่ยังไม่มีการรับรอง และมีการถกเถียงโจมตี) ว่าผลเก๋ากี้ตากแห้งนั้นเมื่อเทียบจากน้ำหนักที่เท่ากัน จะให้เบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท และมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึงห้าร้อยเท่า ซึ่งวิตามินซีนั้นทุกวันนี้เรารู้กันดีว่าเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงอานุภาพในด้านคงความอ่อนเยาว์ของผิวพรรณ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่สำคัญมากมาย ช่วยป้อนออกซิเจนใส่เกียร์ความแรงในการออกกำลังกาย แถมยังลดอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย และจากการศึกษา ยังพบอีกว่าเมื่อวัดค่า ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) หรือค่าประสิทธิภาพในการดูดจับอนุมูลของออกซิเจน ซึ่งเป็นวิธีที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟส์ เมืองบอสตัน พบว่า โกจิเบอร์รี่ให้ค่า ORAC สูงกว่าบรรดาเบอร์รีที่โดดเด่นด้านสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ บลูเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ หรือแครนเบอร์รี่ อยู่หลายช่วงตัว การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นชี้ว่า การรับประทานโกจิเบอร์รี่ประมาณ 10-30 กรัม ต่อวันถือว่ากำลังดี ส่วนศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ผู้โด่งดังอย่าง คริส คิลแฮม ในรัฐแมสซาซูเซตส์ กล่าวกับนิตยสาร Growing สหรัฐฯ ว่า แน่นอนว่าไม่ได้รักษาทุกโรค แต่ต้องยอมรับว่าโกจิเบอร์รี่ถือเป็น "สุดยอดในด้านสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะสารซีแซนทีนที่ดีอย่างมากต่อดวงตา" ซึ่ง เก๋ากี้ นี้ เป็นสมุนไพรสำคัญในตัว ยาเกร็กคู ยาบำรุงร่างกายชื่อดังขณะนี้

Sunday, August 17, 2014

ภาวะหยิน หยาง กับ อาหาร และสมุนไพรบำรุงร่างกาย

การแพทย์แผนจีน มีแนวความคิดว่า “อาหารและยามีที่มาเดียวกัน” อาหารและยามีความเกี่ยวข้อง การค้นพบยาจำนวนมาก เป็นไปโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่มาจากการสังเกตุุในการหาอาหารเพื่อการดำรงอยู่ โดยเมื่อทานอาหารบางชนิด สังเกตุได้ว่าไปช่วยในเรื่องทางยาในการรักษาโรค จึงเห็นได้ว่าสูตรตำรับอาหารจีน โดยเฉพาะสูตรตำราหลวงจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะมีการนำสมุนไพรร่วมอยู่ด้วย พร้อมทั้งบรรยายสรรพคุณในการรักษาโรค ตัวอย่าง อาหารสมุนไพรจะพบได้ตามร้านอาหารและภัตตาหาร มาประกอบอาหารด้วย อาหารและยาถือว่ามีคุณลักษณะที่เหมือนกัน คือ มีคุณสมบัติทั้ง ๔ และมีรสทั้ง ๕ ในชีวิตปกติ เรากินอาหาร เราจะคิดว่าต้องกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ตามที่ได้มีการสอนและวิจัยกันมา ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งจะความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่จะพยายามวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบระดับโมเลกุล ชีวเคมี ระดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และเสริมสร้างสารที่จำเป็นในรูปแบบของสารอาหารประเภทต่างๆ เช่นเดียวกัน สำหรับ คุณสมบัติทั้ง ๔ คล้ายๆกับฤดูกาลและสภาพร่างกาย คือ เย็น สุขุม (ค่อนข้างเย็น) ร้อน อุ่น คุณสมบัติทั้ง ๔ นำมาประยุกต์ในการรักษาโรคอย่างไร การแพทย์จีนอาศัยยาหรืออาหารที่มีคุณสมบัติเย็น สุขุม(ค่อนข้างเย็น) ไปรักษาโรคที่มีลักษณะร้อน(หยาง) และใช้อาหารที่มีคุณสมบัติ ร้อน อุ่น ไปรักษาโรคที่มีลักษณะเย็น(ยิน) รสทั้ง ๕ ของอาหาร ได้แก่ รสเผ็ด รสหวาน รสเปรี้ยว รสขม รสเค็ม รสเผ็ด มีสรรพคุณกระจาย แผ่ซ่าน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลม ช่วยขับความชื้นและลมในระดับผิว (แพทย์แผนจีนถือว่า การกระทบความชื้นหรือลม ทำให้เกิดโรคได้โดยความชื้นและลมจะผ่านจากระดับผิวหนังเข้ามา การใช้ยาหรืออาหารรสเผ็ดจะช่วยขับความชื้นหรือลมออกมา ทำให้หายจากโรคได้) ช่วยสลายการอุดตันของเลือดและลมปราณ รสหวาน มีสรรพคุณในการบำรุง เสริมสร้างระบบกระเพาะอาหารและม้าม ลดการปวด การเกร็ง ทำให้ฤทธิ์ยากลมกล่อม มักใช้ยารสหวานไปบำรุงโรคที่เกิดจากภาวะพร่อง รสเปรี้ยว มีสรรพคุณในการเก็บ พยุง เหนี่ยวรั้ง จึงใช้รักษาโรค เช่น เหงื่อออกมากจากภาวะพร่อง ไอเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง น้ำกามเคลื่อน ปัสสาวะบ่อย ตกขาวเรื้อรัง เป็นต้น รสขม มีสรรพคุณในการขจัด ร้อน สลายไฟ (ความร้อนในตัว) ลดการไอ การอาเจียน ช่วยการขับถ่ายในคนที่ท้องผูกจากความร้อนในตัวสูง รสเค็ม มีสรรพคุณในการสลายหรือทำให้นิ่ม(สลายก้อนแข็ง) ช่วยระบาย แก้ท้องผูก รักษาฝีหนอง ก้อนธัยรอยด์ (จากขาดเกลือไอโอดีน) ก้อนในท้อง อาหารที่มีคุณสมบัติและรสคล้ายกันจะมีสรรพคุณใกล้เคียงกัน แต่อาหารหรือสมุนไพรบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเหมือนกันแต่รสต่างกัน บางชนิดมีคุณสมบัติต่างกันแต่รสเหมือนกัน สรรพคุณย่อมต่างกันด้วย เช่น อาหารและยาคุณสมบัติเย็นและรสขม ใช้ ขับร้อนความชื้น ,อาหารและยาคุณสมบัติเย็นและรสหวาน ใช้ ขับร้อนและบำรุง, อาหารและยาคุณสมบัติอุ่นและรสเผ็ด ใช้ ขับความร้อนและลม, อาหารและยาคุณสมบัติเย็นและรสเผ็ด ใช้ ขับความร้อนและลม ดังนั้นในการเลือกรับประทาน อาหารและยา ต้องพิจารณาคุณสมบัติและรสควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งในความเป็นจริง อาหารและยาสมุนไพรที่เหมาะสม แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะ ร่างกายของคนเราในแต่ละเพศ วัย รูปร่างต่างกัน รวมทั้งพื้นฐานของธาตุทั้งห้า (ปัญจธาตุ) ก็ต่างกัน เช่น - คนอ้วน คนแก่ ผู้หญิง มักเป็นภาวะหยิน - คนผอม เด็ก ผู้ชาย มักเป็นภาวะหยาง - อาการรสเค็ม ขม เปรี้ยว จัดเป็นหยิน - อาหารรสเผ็ด หวาน จัดเป็นหยาง แต่ผู้ชายอ้วนบางรายอาจเป็นภาวะยินหรือหยางก็ได้ขึ้นกับธาตุภายในร่างกาย และอาหารที่กินหรือภาวะแวดล้อมที่มากระทำต่อร่างกาย การกินอาหารลักษณะต่างๆ จึงควรเข้าใจถึงภาวะพื้นฐานของร่างกายว่าเป็นยินหรือหยาง เลือกลักษณะอาหารที่กินให้สอดคล้องภาวะของภูมิอากาศ ฤดูกาล ช่วงเวลาที่กิน(เช้า-หยาง,กลางคืน-ยิน) และสภาพของร่างกาย จึงจะสร้างภาวะสมดุลของร่างกาย ตัวอย่าง คนบางคน ภาวะปกติรู้สึกร้อนง่าย คอแห้ง คอขม ผอม ผิวหนังแห้ง แพทย์แผนจีน เรียกลักษณะนี้ว่า ภาวะยินพร่อง ทำให้มีไฟในร่างกายมาก คนประเภทนี้ ควรกินอาหารประเภทคุณสมบัติเย็น-หวาน หรือเย็น-รสเค็ม ซึ่งเป็นอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มยินขับรอน เช่น สาลี่ อ้อย เนื้อเป็ด ปลิงทะเล ไม่ควรกินอาหารคุณสมบัติอุ่นและเผ็ด เช่น หัวหอม ขิง พริกไทย เป็นต้น คนบางคนภาวะปกติสีหน้าขาวซีด เบื่ออาหาร ไม่มีเรี่ยวแรง เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น แพทย์แผนจีนเรียกลักษณะนี้ว่าภาวะหยางพร่องทำให้ความเย็นแกร่ง คนประเภทนี้ควรกินอาหารที่มีลักษณะอุ่นหวาน เพื่อเพิ่มหยาง เช่น กุยช่าย เนื้อไก่ เนื้อแพะ เนื้อสันหมู ซี่โครงวัว เกาลัด ฯลฯ ส่วนพวกอาหารที่มีคุณสมบัติอุ่นไม่ควรกินมากเกินควร เช่น ขิง พริกไทย หัวหอม แม้จะให้คุณสมบัติหยางแก่ร่างกาย แต่เนื่องจากมีรสเผ็ดที่มีลักษณะกระจายแผ่ซ่าน ทำให้สูญเสียพลัง หญิงหลังคลอด อยู่ในภาวะสูญเสียเลือด พลังและสารจำเป็นอย่างมาก ต้องการการปรับเปลี่ยนร่างกายให้กลับสู่สภาพเร็วที่สุด อาหารหญิงหลังคลอดมักแนะนำ ขิง ผัดไก่ (ไก่มีคุณสมบัติหยาง-รสหวาน ขิงมีรสเผ็ดร้อน) เพื่อให้มีการบำรุงกระเพาะ ม้าม เพิ่มธาตุไฟ ช่วยการไหลเวียนเลือดและขับความชื้น ทำให้ขับน้ำคาวปลา และมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น งดอาหารที่มีลักษณะเย็น รสขม เปรี้ยว เค็ม เพราะจะทำให้เพิ่มคุณสมบัติของยิน เพิ่มความชื้น เก็บกักของเสีย น้ำ ขับความร้อนในร่างกาย ซึ่งไม่สอดคล้องกับภาวะของหญิงหลังคลอด บางครั้งรสของอาหารก็นำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดรสกลมกล่อม และมีคุณสมบัติทางยาด้วย เช่น น้ำบ๊วย น้ำมะนาว ซึ่งมีการเติมรสหวานเข้าไปทำให้เกิดรสเปรี้ยว หวาน รสเปรี้ยว ช่วยดึงรั้ง พยุงการเสียน้ำ แก้กระหายน้ำ และรสหวานก็ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ไม่อ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน น้ำต้มขิงใส่น้ำตาลทรายแดง รสเผ็ดร้อนช่วยขับความเย็น ความชื้น รสหวานช่วยเพิ่มบำรุงพลังไม่ให้สูญเสียพลังจากการกระจาย ทำให้สามารถรักษาไข้หวัดจากการดูดความเย็น ความชื้นได้โดยร่างกายไม่อ่อนเพลีย ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของอาหาร เฉกเช่นยาสมุนไพรในการรักษาโรค คนโบราณกล่าวว่า “การบำรุงด้วยยาไม่ดีเท่าบำรุงด้วยอาหาร” เพราะเหตุผลยา คือ อาหาร อาหาร คือ ยา อาหารที่เหมาะสมและสอดคล้องสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ และสามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยาซึ่งมีฤทธิ์แรงกว่าอาหาร ____________________________________________________________________

Saturday, August 9, 2014

เห็ดหลินจือส่วนประกอบสำคัญในยาเกร็กคู

สมุนไพร สำคัญที่มีในตัว ยาเกร็กคูได้แก่เห็ดหลินจือ หรือในชื่อ Lingzhi mushroom หรือ Reishi mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum (Curtis) P. Karst บางผู้คนจะเรียกว่า เห็ดหมื่นปี จัดเป็นยาจีนที่ใช้กันมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว (Chinese traditional medicine) ใช้กันนับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือ มีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดคือ สายพันธุ์สีแดง หรือ เห็ดหลินจือแดง ซึ่งจะมีสารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งจะช่วยยับยั้งและรักษาอาการต่างๆ (ประโยชน์ด้านล่าง) โดยแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารพอลิแซ็กคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป เห็ดหลินจือนี้เป็นเทพเจ้าแห่งชีวิต ที่มีพลังมหัศจรรย์นักวิทยาศาสตร์พบว่าในเห็ดชนิดนี้มีสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 250 ชนิด !! เป็นยาบำรุงร่างกายและใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รักษาโรคต่างๆได้หลายโรค และยังปลอดภัยไม่มีสารพิษใดๆ ต่อกับร่างกาย ! ในตลาดยาสมุนไพรในประเทศไทย มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเห็ดหลินจือมาก แต่เห็ดหลินจือที่ดี ต้องดูขั้นตอนการเพาะปลูก เพราะเห็ดหลินจือที่จะมีคุณภาพดีนั้น จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งความชื้น แสงสว่าง รวมไปถึงสารอาหารที่ได้รับ และสิ่งที่ต้องดูอีกเรื่องก็คือขั้นตอนการนำมาผลิต ตรงนี้ก็สำคัญเพราะเป็นกระบวนการที่จะต้องสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องให้ความสนใจด้วย โดยต้องเป็นบรรจุ ภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะไวต่อความชื้นเป็นพิเศษและความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้นั่นเอง สรรพคุณของเห็ดหลินจือเห็ดหลินจือสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สีหน้าแจ่มใส ช่วยบำรุงและรักษาสายตา สรรพคุณเห็ดหลินจือใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยทำให้อายุยืนยาว ช่วยชะลอแก่ ชะลอวัย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับได้สนิท ช่วยทำให้ประสาทสัมผัสต่างๆ ดีขึ้น สรรพคุณช่วยรักษาและต่อต้านมะเร็ง โดยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็ ช่วยแก้พิษจากรังสี คีโม เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำจากคีโม ท้องเสียอักเสบจากการฉายรังสี อาการปวดจากพิษบาดแผล ช่วยลดความดันโลหิตและรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำให้สมดุล ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองและหัวใจอุดตัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาทให้ทุเลายิ่งขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมอาการเบาหวาน ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด ช่วยรักษาโรคประสาท สรรพคุณของเห็ดหลินจือช่วยบำรุงตับ และรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ เห็ดหลินจือรักษาโรคไตเรื้อรังบางชนิด โดยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคลมบ้าหมู ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ประโยชน์เห็ดหลินจือช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อ ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยสลายใยแผลเป็น หรือพังผืดหดยืด ทำให้ในแผลเป็นอ่อนนิ่มและหดตัวเล็กลง ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส อย่าง ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด ช่วยรักษาโรคลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง (SLE) หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ช่วยแก้อาการป่วยบนที่สูง เช่น อาการหูอื้อ ช่วยรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจหล้มเหลว เส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก ช่วยป้องกันการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ เห็ดหลินจือจัดเป็นสเตียรอยด์ธรรมชาติ ซึ่งไม่มีสารพิษหรือผลข้างเคียงเหมือนกับสเตรียรอยด์สังเคราะห์

Tuesday, August 5, 2014

ยาเบญจอำมฤต สมุนไพรไทยต้านมะเร็ง

ตำหรับยาเบญจอำมฤต
ยาเบญจอำมฤตต้านมะเร็งตับ....
                กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยต่อยอดในการรักษาโรคมะเร็ง 4 ชนิด ได้แก่มะเร็งตับ ปอด เต้านม และปากมดลูก  โดยได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับ“พืชสมุนไพรกับการรักษาโรคมะเร็ง” โดยได้นำสมุนไพรตามตำรับยาแผนโบราณใน “คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ซึ่งเป็นคัมภีร์แพทย์แผนไทยมาตรฐานที่กองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุขรับรอง เพราะเป็นคัมภีร์แพทย์หลวงที่มีการชำระความถูกต้องตามพระบรมราชโองการของสม เด็จพระปิยมหาราช รัชการที่ ๕ ที่ทรงมีพระราชประสงค์จะให้คัมภีร์แพทย์ฉบับนี้เป็นตำราแพทย์ประจำบ้าน สำหรับสามัญชน ประชาชนทั่วไปได้ไว้ใช้ศึกษา เพื่อช่วยเหลือ ดูแลตัวเองและครอบครัวในยามเจ็บ ป่วย โดยมีตำรับยาสมุนไพรที่น่าสนใจ เพราะมีรายงานว่า สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งตับซึ่งเป็นมะเร็งที่รักษาได้ยากที่สุดชนิดหนึ่ง จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาให้มีชีวิตรอดยืนยาวนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นหากมีหนทางใดที่พอจะเยียวยาผู้ป่วยมะเร็งตับได้น่าจะเป็นผลดี
                 โดยทั่วไปคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสมุนไพรขนานใดที่มีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง ถึงจะมีการศึกษาวิจัยว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ก็ตาม แต่ในบัญชียาทดลองของกรม พัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ที่ใช้รักษาโรคมะเร็งตับ  ตำรับยาเบญจอำมฤต หรือยาเบญจามฤต ในพระคัมภีร์โรคนิทาน มีการกล่าวถึงโรคตับพิการ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ ที่เห็นได้จาก“หอบไออยู่เป็นนิจ บริโภคอาหารไม่ได้ จะหายใจก็ไม่ถึงท้องน้อย ลักษณะดังนี้คือปถวีธาตุโทษทั้ง 4 ประการ” ปถวีธาตุโทษในที่นี้ท่านอธิบายว่าเป็นฝีในตับ ทำให้ถ่ายเป็นโลหิตสดๆออกมา สำหรับการรักษานั้นตามพระคัมภีร์กล่าวว่า “โรคหมู่นี้หมอจะแก้เป็นอันยากนัก.....ท่านให้แก้ไปด้วยสรรพคุณยา ดูตามบุญเถิด ถ้าแพทย์ผู้ใดจะแก้ ให้แก้ที่ต้นเหตุ คือแก้ปถวีธาตุซึ่งแตกนั้นก่อน ท่านให้ทำยาชื่อว่า เบญจอำมฤต” จากถ้อยคำในพระคัมภีร์จะเห็นได้ว่า แม้ท่านจะมิได้เรียกโรคตับพิการดังกล่าวว่าโรคมะเร็งตับ แต่ก็พออนุมานได้ว่ามีลักษณะอาการใกล้เคียงกัน คือเข้าขั้นโคม่ารักษาหายยาก แต่ท่านก็ยังแนะนำยาที่ใช้แก้ธาตุดินแตก เพื่อรักษาตับให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้

ส่วนประกอบของยาพร้อมทั้งวิธีปรุงยาตำรับเบญจอำมฤตมีดังนี้
1) มหาหิงคุ์ 3.75 กรัม
2) ยาดำบริสุทธิ์ 3.75 กรัม
3) รงทอง 7.5 กรัม
4) มะกรูด 3 ลูก
              การที่ยาแผนโบราณตำรับนี้ได้รับความสนใจในวงการแพทย์และเภสัชแผนปัจจุบันก็ เพราะมีรายงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากรงทอง ซึ่งเป็นยางจากลำต้นของรงทอง (Gamboge Tree) มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในตับ ยิ่งกว่านั้นดีปลีและพริกไทยก็มีฤทธิ์ต้านการออกซิเดชั่น (Antioxidant) เสริมฤทธิ์กับรงทองในการรักษามะเร็งตับ แต่อย่างไรก็ตามการรักษาโรคตับพิการตามหลักแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้แต่รงทอง ดีปลี พริกไทยไม่ได้ หากต้องใช้ให้ครบสูตรตำรับจึงจะได้ผลดี ตัวยาสมุนไพรในตำรับเบญจอำมฤตนี้หาได้ง่ายจึงสมควรที่แพทย์แผนไทยหรือญาติ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจะจัดเตรียมปรุงไว้ใช้รักษาโรคตับพิการหรือโรคมะเร็ง ตับ ควบคู่กับวิธีการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน อันที่จริงตำรับยารักษาโรคตับพิการหรือยาล้อมตับในคัมภีร์แพทย์แผนไทยที่ใช้ ประกอบกับตำรับเบญจอำมฤตให้ได้ผลดี ยังมีอีกหลายขนาน ซึ่งสมควรที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ รวมทั้งนักวิจัยทางด้านแพทย์-เภสัชแผนปัจจุบัน จะนำไปทดลองขยายผลเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งตับให้ได้ผลต่อไป  โดย
อธิบดีกรมแพทย์แผนไทยฯ เผยผลทดสอบยาตำรับเบญจอำมฤตย์ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ผลดี  หลังจากเปิดตัวตำรับเบญจอำมฤตย์ โดยทดลองให้บริการกับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลการแพทย์ ผสมผสานที่ยศเส จำนวน 50 คน เป็นผู้ชาย 35 คน ผู้หญิง 15 คน เพื่อติดตามผลการใช้ยาตำรับดังกล่าว พบว่า ตลอดระยะเวลา 20 วัน ผู้ป่วยมีการการดีขึ้น

          โดยผู้ป่วยมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองลดลง เวียนศีรษะลดลง คลื่นไส้อาเจียนลดลงเมื่อทานมาก อาเจียน เจ็บชายโครงขวาลดลง ท้องอืดหลังทานอาหารดีขึ้น นอนหลับพักผ่อนนานขึ้น ท้องบวมลดลง เรอ ผายลมได้ หายใจไม่ทั่วท้องดีขึ้น ส่วนอาการปวดหลัง ก้นกบ เมื่อยตามกระดูกก็ลดลง การขับถ่ายอุจจาระดีขึ้น แต่อาการท้องบวม อ่อนเพลีย ขาทั้งสองข้างบวมและชายังคงเดิม อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลยังต้องการอาสาสมัครที่เป็นมะเร็งตับระยะสุดท้ายอีก 150 คน เข้าโครงการติดตามผลจากการใช้ยา

          ทั้งนี้ การกินยาตำรับเบญจอำมฤตย์นั้น หมอแพทย์แผนไทยจะจ่ายยาสมุนไพรเสริมตำรับตามอาการร่วมที่พบด้วย มิได้รักษาเฉพาะตำรับอย่างเดียว เช่น หากมีอาการวิงเวียนจะจ่ายยาขิง หรือยาหอมตามคัมภีร์ธาตุบรรจบ หากมีอาการบวมจะจ่ายยากลุ่มปรับสมดุลและขับปัสสาวะ หากมีอาการเพลียให้หยุดยา แต่ยังคงติดตามประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยาเบญจอำมฤตย์ต่อเนื่องต่อไป






         

สมุนไพรบำรุงร่างกายในยาเกร็กคู

  • ยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย ตัวยาเกร็กคู

                 หลักการบำรุงร่างกายของทางตะวันออก จะเน้นการใช้สมุนไพรที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการช่วยให้เลือดในร่างกายสูบฉีดและไหลเวียนดีขึ้น ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวโดยสมุนไพรที่มีรายงานวิจัยอย่างเป็นทางการ เช่น เขากวาง ช่วยบำรุงเลือด, สอเอี้ยง ช่วยบำรุงไต, อิมเอี้ยคัก ซึ่งเป็นพระเอกของกลุ่มยาสมุนไพรสูตรนี้ ช่วยในเรื่องการขยายหลอดเลือด ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรปและจีน นำไปใช้เป็นส่วนประกอบตัวหลัก, เม็ดเก๋ากี้ ที่ใช้ต้มยาในบ้านเรา ช่วยบำรุงร่างกาย, เน็กฉ่งยัง ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเชื้ออสุจิ นอกจากนี้ยังมีดอกคำฝอย ซึ่งช่วยขับปัสสาวะและเหงื่อเพื่อไม่ให้ตัวยาตกค้างในร่างกาย ซึ่งจะเห็นว่าสมุนไพรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใส่อยู่ในยาบำรุงร่างกาย อาหารเสริม เกือยทุกยี่ห้อ ในส่วนของยาเกร็กคู เรามาดูกันว่า สมุนไพรที่นำมาผลิตมีอะไรบ้างและมี สรรพคุณอะไร

               ตังถั่งเช่า : สรรพคุณ บำรุงไต สร้างฮอร์โมน บำรุงหัวใจ ปอด หลอดลม กล่องเสียง เสริมอายุวัฒนะเป็นสมุนไพรชื่อดัง  ซึ่งมีราคาแสนแพง

               แปะตุ๊ก : สรรพคุณ บำรุงกระเพาะอาหาร เสริมสร้างร่างกาย และขับปัสสาวะ จึงใช้สำหรับบำบัดอาการอาหารไม่ย่อย บิดเรื้อรัง เบื่ออาหาร แขนขาไม่มีแรี่ยวแรง และบวมน้ำ เป็นต้น

                อี๋อี่ยิ่ง : สรรพคุณ  ราก : นำมาทำเป็นยาชงทาน เพราะมีสารพวก coixol ซึ่งใช้ขับพยาธิในเด็ก  ส่วนเมล็ด : นำมาทำเป็นยาใช้บำบัดอาการหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ มีน้ำคั่งในปอด และถ้านำมาหมักจะได้แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้ในโรคข้ออักเสบ แต่ถ้าคนที่ฟื้นไข้ใหม่ๆ ก็นำเมล็ดมาชงซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก เป็นยาเย็น และขับปัสสาวะ

                โหงวบี่จี้ : สรรพคุณ  บำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงไต แก้อาการปัสสาวะรดที่นอน เสริมกำลังให้แข็งแรง ใช้บำบัดอาการตายด้าน

                 เนกกุ่ย : สรรพคุณ  เป็นยารสหวาน ฤทธิ์เผ็ดร้อน เสริมความร้อนให้กับร่างกาย แก้อาการท้องร่วง ปวดเอว ปวดเข่า ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

                 อิมเอียงคัก : สรรพคุณ รสหวาน เผ็ดร้อน ฤทธิ์อุ่น เป็นยาที่มีสรรพคุณฟื้นฟูไต ใช้แก้ปวดหลัง เป็นยาบำรุงร่างกาย

                  เกากี้จี้ : สรรพคุณ ผง ราก ต้น ใบ และเปลือกรากเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงสายตา บำรุงเลือด ขับปัสสาวะ แก้ไอ แก้ไข้ แก้เหงือกบวม แก้โรคเบาหวาน และโรคไต ใบและผลนำมาทำเป็นอาหารได้

                   โถ่วชี้จี้ : สรรพคุณ  ลำต้น ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกินเป็นยาแก้บิด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ตกเลือด ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล แก้โรคดีซ่าน และแก้พิษ หรือใช้ภายนอก โดยการนำเอาลำต้นมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทา หรือพอกบริเวณที่เป็นฝ้า ผดผื่นคัน แผลเรื้อรัง และใช้ห้ามเลือด เป็นต้น.... เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ด หรือทำเป็นยาผง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงตับไต แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้ตาสว่าง แก้กระหายน้ำ และแก้น้ำกามเคลื่อน เป็นต้น

                     ตั่วจ้อ : สรรพคุณ  น้ำต้มจากเปลือกต้มกินเป็นยาฝาดสมาน แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้เหงือกอักเสบ... ผลแห้งช่วยการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร ช่วยย่อย บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ช่วยสงบประสาท และใช้ผสมกับสูตรยาอื่นๆเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้น

                      ซัวเอียะ : สรรพคุณ  เสริมสร้างร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง ลดเหงื่อ บำรุงไต และใช้ได้ผลมากกับอาการอันเกิดจากโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำ ซูบผอม ปัสสาวะมาก รวมทั้งอาการเหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
     
                     อิมเอียงคัก : สรรพคุณ  รสหวาน เผ็ดร้อน ฤทธิ์อุ่น เป็นยาที่มีสรรพคุณฟื้นฟูไต ใช้แก้ปวดหลัง เป็นยาบำรุงร่างกาย

    สรรพคุณ ยาเกร็กคู
                     ยังไม่รวมเห็ดหลินจือ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ สรรพคุณมากมาย 
                   

Sunday, August 3, 2014

ยาเกร็กคู กับมาตรฐาน GMP


ยาเกร็กคู มาตรฐาน GMP

gmp 
                 ยาเกร็กคู ผลิตจากโรงงานที่ผ่านมาตรฐาน GMP ซึ่งเป็นยาสมุนไพรไทยเพียงไม่กี่ยี่ห้อ ที่กระบวนการผลิตผ่านมาตรฐาน  GMP ของประเทศไทยรัฐบาล ทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ยาสตรี ยาบำรุงสุขภาพร่างกาย เห็ดหลินจือ อาหารเสริม หรือสินค้าภายใต้แบรนด์ หมอทศพรโอสถ เป็นสินค้าที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ไม่ต้องกังวลเรื่องอันตราย ผ่านมาตรฐาน อ.ย.
                กระทรวง สาธารณสุข ได้ออก พรบ.ยา พ.ศ. 2510 (กฎหมายยา) ระบุให้ผู้ประกอบการต้องมีสถานที่ผลิตยาของตนเอง ซึ่งจะต้องมีขนาดพื้นที่ขั้นต่ำ 4×4 ตารางเมตรต่อห้องและต้องแยกเป็นสัดส่วน และยังต้องวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาให้ได้ตามสูตรที่ผลิตยาได้เองด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าวถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของ GMP ต่อมาในปี 2522 อย. ได้เริ่มนำหลักเกณฑ์ GMP มาใช้กับโรงงานผลิตยา (ปีเดียวกับ FDA สหรัฐได้เปลี่ยนมาใช้มาตรฐาน c-GMP ) เพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และในปี 2527 อย. ได้รณรงค์ให้ภาคอุตสาหกรรมยาสนใจและปรับปรุงมาตรฐานการผลิตยาอย่างจริงจัง และยังได้ออกเอกสาร “หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิต” เป็นเล่มแรกในปี 2530 และในปี 2532 ได้ออกประกาศนียบัตร GMP หรือ “GMP Certificate” ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน GMP รวมทั้งสิ้น 58 โรงงาน ในปัจจุบัน มีโรงงานที่ได้ GMP มากกว่า 130 โรงงาน และในปี 2544 อย. ได้ใช้ GMP ฉบับใหม่ซึ่งยึดตามหลักของ WHO (World Health Organization) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้วการที่ไทยใช้มาตรฐาน GMP ในระดับเดียวกับ WHO (World Health Organization) ไทยจึงน่าจะได้ประโยชน์จากการขยายตลาดยาในอาเชียนเมื่อใช้มาตรฐานการขึ้น ทะเบียนยาอาเชียน เพราะยาไทยมีมาตรฐานสูงและเป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ประเทศมาเลเชีย สิงคโปร์ อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ ก็มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับไทยเช่นกัน อนึ่ง อย. ยังได้ออกมาตรฐาน GMP สำหรับยาแผนโบราณ อาหาร และเครื่องสำอาง และยังใช้มาตรฐานป้องกันอันตรายจากการปนเปื้อน HACCP (Hazard Analysis and Critical Point) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารส่งออก เพื่อให้มั่นใจว่า ได้ใช้วิธีการผลิตที่สะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ อาหารสำหรับบริโภคทั้งในและต่างประเทศอีกด้วยตามแนวแผนงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5,6 และ 7 (พ.ศ. 2525-2529, พ.ศ. 2530-2534 และ พ.ศ. 2535-2539 ตามลำดับ) ส่วนแผนงานคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540 – 2544 ) ได้กำหนดให้มีการยกระดับมาตรฐานการผลิตยาภายในประเทศขึ้นโดยมีมาตรการบังคับ ให้ผู้ผลิตนำเอาหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (GMP) มาใช้อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในคุณภาพมาตรฐานของยาที่ผลิตขึ้น ผลการดำเนินงานพบว่า ยาที่ผลิตภายในประเทศมีคุณภาพมาตรฐานดีขึ้น และมีปัญหายาผิดมาตรฐานในท้องตลาดลดลง ส่วนแผนฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ได้ใช้คำว่า “ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” แทนสินค้าที่กระทรวงสาธารณสุขดูแลทั้งหมด
หลักการของระบบ GMP
หลักการของ GMP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคารระบบการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิตระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปการจัดเก็บการควบคุมคุณภาพและการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่อง สุขอนามัย (Sanitation และHygiene) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัยเป็นที่มั่นใจเมื่อถึง มือผู้บริโภค ทั้งนี้ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพ อื่นๆต่อไปเช่นระบบ HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย
GMP กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้สำหรับผู้ผลิตอาหารรายใหม่ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ส่วนรายเก่ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546
ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป
ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไปมี 6 ข้อกำหนดดังนี้
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
6. บุคลากรและสุขลักษณะ
ในแต่ละข้อกำหนดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปน เปื้อนอันตรายทั้งทางด้านจุลินทรีย์เคมีและกายภาพ ลงสู่ผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจมาจากสิ่งแวดล้อมตัวอาคารเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนการผลิตรวมถึงการจัดการในด้านสุขอนามัยทั้งใน ส่วนของความสะอาดการบำรุงรักษาและผู้ปฏิบัติงาน

Saturday, August 2, 2014

สมุนไพรไทยบำรุงร่างกายเพศชาย

      ปัญหาเรื่อง นกเขาไม่ขัน สำหรับชายไทยจากการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ กลับพบว่าชายไทยที่อายุ 35 ปีขึ้นไป มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศถึง 42 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มชายที่ประสบปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จึงพยายามหาวิธีแก้ไขกันทั้งนั้น หลายคนไปพึ่งยา ‘ไวอะกร้า’ เพื่อช่วยให้อวัยวะของตนแข็งขันชูชันผงาดสู้ขึ้นมาอีกครั้ง  ยิ่งตอนนี้มีขององค์การเภสัชได้ผลิตมาจ่ายตามใบสั่งแพทย์ เพื่อเหลือชายไทยในกลุ่มนี้
  
       แต่ปัญหาในเรื่องนี้ มิใช่มีเพียงภูมิปัญญาตะวันตกเท่านั้น ที่สนใจศึกษา หากแต่ทางฝั่งตะวันออกก็มีหนทางเยียวยาอยู่เช่นกัน
  
       เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการค้นพบตัวยาในเมล็ดหมามุ่ยซึ่งมีส่วนช่วยส่ง เสริมสมรรถภาพทางเพศของทั้งหญิงและชาย และต่อมาก็มีข่าวคราวความสำเร็จของการวิจัยโดยศูนย์วิจัยนวัตกรรม ซีไออาร์ดี (C.I.R.D. : CAPP Innovation Research and Development Center) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรทางการค้า ทำงานด้านพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสมุนไพรตะวันออก ออกมาให้สมาคมนกเขาคอตกได้ดีใจ
  
       โดยผลการวิจัยของซีไออาร์ดี นั้นระบุว่า สมุนไพรตะวันออกนั้นสามารถช่วยรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้จริง ซึ่งทั้งหมดนั้นไม่ได้พูดขึ้นมาลอยๆ หากแต่มันได้ผ่านการวิจัยกับคนจริงๆ มาแล้ว

  
       
       การวิจัยที่ว่านี้ ศูนย์วิจัยนวัตกรรม ซีไออาร์ดี ได้นำเอาสมุนไพรหลายชนิดอาทิ เขากวางอ่อน, สอเอี้ยง, อิมเอี้ยคัก, เม็ดเก๋ากี้, ปาเก็กเทียน, เก้ากุ๊กเฮี้ยง, เน็กฉ่งยัง ฯลฯ มาใช้เป็นตัวยาซึ่งทั้งหมดเป็นสมุนไพรที่การแพทย์แผนตะวันออกคุ้นเคยกันดี อยู่แล้ว
  
       “ในการวิจัยเรานำเอาสมุนไพรกว่า 10 ชนิดมาใช้ คือมันต้องใช้ร่วมกันหลายๆ อย่างจึงจะเห็นผล มันเป็นสิ่งที่เราเรียกว่ายาตำรับ คือในเบื้องต้นนั้นเรามีความตั้งใจเอายาเหล่านี้มาทำให้เป็นวิทยาศาสตร์มาก ขึ้น เอาตัวยาทางตะวันออกที่มี มาทำให้เป็นศาสตร์แบบแผนตะวันตก ทำวิจัยให้มันถูกต้อง
  
       “ที่ผ่านมา เราก็มีข้อมูลสนับสนุน เพราะสมุนไพรเหล่านี้ในต่างประเทศมีคนทดสอบ ทดลองแล้วว่า หลายๆ ตัวมีส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศได้จริง แต่ทั้งนี้โดยส่วนมากในต่างประเทศจะเป็นเอกสารทางสารทดลองที่อยู่ในห้องแล็บ มากกว่า เมื่อเราได้เอกสารตัวนี้มายืนยัน เราก็ตั้งการวิจัย โดยตั้งสมมติฐานมาเปรียบเทียบ โดยตั้งกลุ่มขึ้น 2 กลุ่ม ซึ่งแบบนี้เรียกว่า ดับเบิล บลาย ทู พีเรียด ครอสโอเวอร์ (double blind two period crossover)”
    
       นพ.สรรชัย วิโรจน์แสงทอง ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรม ซีไออาร์ดี ได้อธิบายถึงกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ว่าเป็นการนำเอากลุ่มตัวอย่างมา 60 คน และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะให้ยาจริงก่อน แล้วหยุดพัก หลังจากนั้นก็ให้ทานยาหลอก อีกกลุ่มหนึ่งก็ทำเช่นเดียวกันแต่จะให้ยาหลอกก่อน สลับกันไป จากนั้นก็จะมีการให้กลุ่มผู้ทดลองตอบแบบสอบถามเรื่องความพึงพอใจทางเพศ เป็นตัววัดคะแนน
  
       “ตัววัดคะแนนตัวนี้เป็นชุดคำถามสากลที่นิยมใช้วัดระดับในเรื่องนี้ คือเมื่อกินยาตัวนี้เข้าไปแล้วก็ต้องไปมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งแต่ความถี่แล้วแต่เขา จากนั้นก็มาวัดผล และที่เราต้องวัดเป็นความพึงพอใจนั้น ก็เพราะเป็นเรื่องง่ายกว่า การวัดจากความแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งตรงนี้คงไม่มีใครให้เราวัด”
  
       จากการวิจัยระยะยาวที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่ออกมาก็สรุปได้ว่า ยาเหล่านี้มันใช้ได้ผลจริงๆ และในอีกไม่นาน ผลการวิจัยชิ้นนี้คงจะขยายผลออกมาเป็นยาที่จะช่วยรักษาคนที่ประสบปัญหานกเขา ไม่ขัน

  
       สนุนไพรมีคุณค่าแต่อาจไม่คุ้มค่าการวิจัย
       แม้ว่ายาสมุนไพรตะวันออกจะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มันสามารถรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้จริง แต่กระนั้นมันก็ยังเป็นการรักษาแบบค่อยเป็นค่อยไป และใช้เวลานาน ซึ่งต่างกับยาไวอะกร้า ซึ่งมาจากโลกตะวันตกที่เห็นผลทันตาชนิดที่เรียกได้ว่า ‘กินปุ๊บแข็งปั๊บ’ แล้วแบบนี้สมุนไพรตะวันออกจะไปสู้เขาได้อย่างไร
  
       “แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องยาของคนฝั่งตะวันออก อย่างไทย จีนหรืออินเดีย กับฝั่งตะวันตกนั้นไม่เหมือนกัน อย่างฝั่งตะวันตกจะมองว่า การบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ก็คือบำรุงอวัยวะใด อวัยวะหนึ่ง แต่คนตะวันออกไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะเขาคิดว่าร่างกายต้องสมบูรณ์แข็งแรงก่อน อวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์จึงจะแข็งแรงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่วิจัยเกี่ยวกับยาที่คนโบราณบอกว่าเป็นยากำลังทั้งหลาย จึงไม่ได้ออกฤทธิ์ตรงที่อวัยวะเพศอย่างเดียว แต่มันยังทำให้ทั้งร่างกายดีขึ้นด้วย”
  
       ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายความแตกต่างระหว่างแนวคิดระหว่างศาสตร์การแพทย์ของ 2 ฝั่งทวีป และนั่นคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยาสมุนไพรของไทย ถึงไม่ได้เด่นชัดในเรื่องการเสริมกำลังตรงนี้มากเท่าที่ควร แม้จะมีพืชบางชนิดที่มีออกฤทธิ์หรือส่งผลดีทางด้านสมรรถภาพทางเพศก็ตาม
  
       “จริงๆ แล้วความคิดแบบตะวันตกอาจจะไม่ถูกทั้งหมด เพราะหน้าที่ของมนุษย์ก็คือการสืบพันธุ์ หรือมีลูก แต่ยาฝรั่งไม่ได้ช่วยตรงนี้ แค่ทำให้อวัยวะทำงานได้ มีการตื่นตัว ซึ่งถามว่าจำเป็นไหม ก็คงจำเป็น แต่มันไม่ได้ตอบโจทย์ของการเป็นมนุษย์ แต่ยาสมุนไพรมันไม่ได้ช่วยแค่การสืบพันธุ์เท่านั้น แต่ยังช่วยในเรื่องทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย ที่เห็นชัดๆ ก็คือ หมามุ่ย ซึ่งไม่ช่วยแค่การบำรุงร่างกาย แต่มันยังทำให้มีลูกง่ายขึ้นด้วย เพราะมันจะไปช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำเชื้อ และการทำงานของสเปิร์ม”
  
       อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสมุนไพรให้มีผลในทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การพัฒนาหมามุ่ยหรือสมุนไพรอื่นๆ ให้เป็นยาที่แข่งกับยาฝรั่งเช่น ไวอะกร้านั้น ภญ.ผกากรอง ก็มองว่า เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ในฐานะของที่ทำงานด้านนี้ กลับมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะนอกจากจะต้องใช้งบประมาณนับล้านบาท สำหรับการทำเรื่องนี้แล้ว ที่สำคัญอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ต่อเรื่องสุขภาพเท่าใดนัก
  
       “ถ้าเราพูดเรื่องจำนวนของคนที่ไร้สมรรถภาพทางเพศไม่ได้มีเยอะเท่าใดนัก เป็นเพียงความกังวลของคนเท่านั้นเอง ถึงต้องหายาอะไรมากินกัน ดังนั้นถ้าจะพัฒนายาตัวหนึ่งขึ้นมาคงต้องตอบโจทย์เรื่องนี้ให้มาก เพราะการทำยาตัวหนึ่งไม่ได้เสียเงิน 100-200 บาทแต่เสียหลายล้านบาท แต่ทำมาแล้วมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศหรือผลกระทบได้สักเท่าไหร่ แน่นอนทางฝ่ายเอกชนก็อาจจะคิดว่ามันน่าจะตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ยิ่งเราสกัดสารให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้นเท่าใด โอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้นเท่านั้น
  
       “เพราะสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลข้างเคียง แต่มันยังน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน เพราะความเข้มข้นในการเป็นยาของมันไม่ได้สูงมาก สังเกตดูก็ได้ว่า เวลากินสมุนไพรถึงต้องกินหลายเม็ดกว่าแผนปัจจุบัน ซึ่งวิธีแก้ผลข้างเคียงก็คือหยุดยา แล้วส่วนใหญ่ก็จะกลับมาเป็นปกติ”

  
       คือทางเลือกและความหวัง  
       แม้ว่าการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วยสมุนไพรตะวันออกจะอยู่ในระยะ ตั้งไข่ แต่สำหรับคนที่มีปัญหา เชื่อได้เลยว่าแม้จะยาวนานแค่ไหน มันก็ยังคงเป็นความหวังที่คุ้มค่ากับการรอคอย
  
       “ยอมรับเลยว่าด้วยอายุที่มากขึ้น ทำให้สมรรถภาพในเรื่องนั้นของเราลดลงจริง เมื่อก่อนสมัยหนุ่มๆ ก็เป็นเหมือนปกติทั่วไป คือร่างกายกับจิตใจมันไปด้วยกันน่ะ แต่ตอนนี้พออายุใกล้จะถึงหลัก 4 จิตใจเรา เราว่าเหมือนเดิมนะ แต่ร่างกายนี่ชักจะไม่เป็นเหมือนเดิมแล้ว”
  
       ศักดิ์ชาย (ขอสงวนนามสกุล) หนุ่มใหญ่วัย 38 ปี เล่าให้เราฟังถึงสภาวะที่ร่างกายถดถอย ทั้งที่ใจยังสู้อยู่
  
       “ผมแต่งงานมีลูกแล้ว 1 คน แสดงว่าก็ยังพอมีน้ำยาอยู่บ้างนะ (หัวเราะ) แต่มาหลังๆ นี้ สังเกตได้ว่ามันชักจะไม่ค่อยสู้แล้ว คือไม่ใช่ว่านกเขาไม่ขันเสียทีเดียว ก็ขันอยู่ แต่ไม่ขันแข็งเหมือนเมื่อก่อน ตอนแรกเราก็คิดว่าคงเป็นเพราะหน้าที่การงานที่เครียดมากขึ้น เพราะมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบดูแล ก็ไม่ได้สนใจอะไร แต่หนักเข้าสมรรถภาพทางเพศก็เสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัด พูดอย่างไม่อายเลยว่า กว่าที่แข็งตัวนี่จะช้ามากทั้งๆ ที่เราก็รู้สึกมีอารมณ์ แล้วพอมันแข็งก็แข็งไม่มากเท่าตอนหนุ่มๆ แต่ก็ยังพอใช้งานได้ ต่อมาก็ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปีก็พบว่าน้ำตาลในเลือดสูง มีความเสี่ยงมากที่จะเป็นเบาหวาน ซึ่งผมก็มาศึกษาต่อเองว่าภาวะการเป็นเบาหวานนั้น ส่งผลต่อการแข็งตัวขององคชาตด้วย ทีนี้ก็เลยถึงบางอ้อเลยว่าทำไม่ไม่ฟิตเหมือนเมื่อก่อน”
  
       ตอนแรกๆ ศักดิ์ชายยังไม่ได้คิดว่าอาการนกเขาแข็งตัวไม่เต็มที่นั้นเป็นปัญหา แต่พอเวลาผ่านไป เขาก็รู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะอาการตื่นช้าและไม่แข็งตัวมันหนักข้อขึ้นทุกวัน
  
       “หลังๆ มาผมศึกษาเรื่องวิธีการรักษามาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีธรรมชาติอย่างออกกำลังกาย ลดเหล้าบุหรี่ หรือจะเป็นการใช้ยาอย่างไวอะกร้า ก็คิดอยู่ว่าจะเอามาลองใช้หลายครั้งแล้ว แต่ตอนนี้ผมเป็นโรคความดันด้วย ทำให้ยังไม่กล้าลองใช้ เพราะไวอะกร้ามันเป็นยาขยายหลอดเลือด ผมก็เลยกลัวว่ามันจะมีผลกับคนเป็นความดันอย่างผมหรือเปล่า”
  
       แต่เมื่อเขารู้ข่าวของการใช้สมุนไพรตะวันออกในการรักษาอาการนกเขาไม่ขัน ศักดิ์ชัยก็แสดงความเห็นว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีและถ้ามีโอกาสก็จะลองใช้
  
       “มันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนะ เพราะผมเข้าใจว่าพวกสมุนไพรมันไม่น่าจะมีผลข้างเคียงร้ายแรงเท่ายาเคมี ถ้ามันมีการวิจัยเป็นเรื่องเป็นราวแล้วได้ผล ผมก็ว่าจะลองใช้ดูก่อน จริงอยู่ที่มันไม่ใช่การรักษาที่ตรงจุดเสียทีเดียว แต่มันก็ดีกว่าการไปเสี่ยงใช้ยาที่มีผลข้างเคียงอันตรายอย่างไวอะกร้านะ”
  
       นั่นเป็นทรรศนะของคนมีปัญหาที่เฝ้ารอการรักษาอย่างมีความหวัง ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ เราจะพบว่าตัวยาสมุนไพรที่นำมาใช้นั้น มีหลายอย่างที่คนในบ้านเราเอามาประกอบอาหารในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงน่าสงสัยว่า เมื่อคนทั่วไปรู้ว่าของเหล่านี้มันมีสรรพคุณทางยา รักษาอาการนกเขาไม่ขันได้เขาจะหันมาบริโภคมันมากขึ้นหรือไม่
  
       “คงไม่ได้เสาะหามากินมากกว่าแต่ก่อนหรอก คงกินมันเท่าเดิมนั่นแหละโดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหากับเรื่องนี้อยู่แล้ว” สรัญวุฒิ ศรีวารีกุล หนุ่มใหญ่วัย 30 กล่าวถึงสมุนไพรเหล่านี้ในฐานะอาหาร ซึ่งเขายังบอกต่อไปอีกว่าถึงแม้เขาจะมีปัญหาในเรื่องอย่างว่าขึ้นมาในวัน หนึ่ง เขาก็คงไม่กินสมุนไพรเหล่านี้ในฐานะของอาหารบำรุงแน่นนอน
  
       “ถ้าเกิดป่วยขึ้นมาจริงๆ ก็ไปหาหมอดีกว่า คงไม่กินอาหารรักษาเองหรอก น่าจะกินยาไปเลย แต่จะเป็นยาไทยหรือยาฝรั่งก็ต้องดูกันอีกทีว่าอันไหนมันดีกว่ากัน”
  
  
       คำกล่าวที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นแมวสีไหน ขอให้สามารถจับหนูได้เป็นพอ นั้นเป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผล ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นยาสมุนไพรตะวันออก หรือยาเคมีจากตะวันตก หากมันช่วยรักษาความป่วยไข้ได้เหมือนกันก็คงจะไม่ต้องมาเถียงกันว่าอะไรดี กว่าอะไร
  
        แต่ถ้าหากจะมองถึงเรื่องอื่นๆ ที่ลึกลงไปกว่าการรักษาโรคให้หาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลข้างเคียง เรื่องของจิตใจ มันย่อมมีอะไรๆ ให้พิจารณากันอีกไม่น้อย ถึงตอนนั้น ผู้ใช้ก็คงจะเลือกเองได้ว่าจะยืนอยู่ทางฝั่งไหนของโลกดี.



ข้อมูลจาก : ผู้จัดการ วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2554