Monday, March 30, 2015

ผลเสียของนอนมากเกิน

                                                ผลเสียของนอนมากเกิน




          มนุษย์ทุกคนต้องนอนหลับ ข้อเท็จจริงนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะร่างกายของเราจะทำการซ่อมแซมและสร้างเสริมส่วนที่เสียหายก­­­็ในช่วงเวลาการนอนหลับนี่ล่ะค่ะ ซึ่งเราก็มักจะได้ยินว่าการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุของโ­­­รคภัยต่าง ๆ ได้ แต่ก็ใช่ว่าทราบกันแล้วจะพาลไปนอนกันให้มากกว่าเดิมล่ะ เพราะการนอนพักผ่อนมากจนเกินไปก็ส่งผลเสียได้เหมือนกัน

1.ทำร้ายสมอง

          การศึกษาในปี 2012 ที่ทำการศึกษาเรื่องการนอนหลับในกลุ่มหญิงสูงวัย ได้แสดงให้เห็นว่าการนอนห­ลับมากหรือน้อยจนเกินไปจะทำให้การทำงานของสมองแย่ลง โดยผู้หญิงที่มีการนอนหลับมากกว่าวันละ 9 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 5 ชั่วโมง สมองจะเปลี่ยนแปลงจนมีการทำงานที่แย่ลงภายในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น

2.เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน

          แม้ว่าการนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ แค่การนอนหลับมากเกินไปก็เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน­­­ โดยในการศึกษาหนึ่งพบว่าการนอนหลับมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยอาจทำให้ความทนทานต่อน้ำตาลในร่างกายลดลงภายในเวลา 6 ปี แม้ว่าจะมีการควบคุมมวลร่างกายเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

3.เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

           สมาคมหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยผลการวิจัยในการประ­­­ชุมประจำปี 2012 ว่าการนอนหลับมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงสามารถส่งผลให้ความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้นได้ โดยในการวิจัยได้การศึกษากับอาสาสมัครกว่า 3,000 คน และพบว่าคนที่นอนหลับนานกว่าปกติจะมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัว­­­ใจตีบมากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเหมาะสมถึง 2 เท่า และมีความเสี่ยงมากกว่า 1.1 เท่าที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

4.เกิดภาวะมีบุตรยาก

          การนอนหลับที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากได้ โดยข้อเท็จจริงนี้มาจากการศึกษาในประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี 2013 โดยในการศึกษาได้ทำการวิจัยกับผู้หญิงมากกว่า 650 คนที่ใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว และพบว่า อัตราการตั้งครรภ์จะสูงมากที่สุดในกลุ่มผู้หญิงที่นอนหลับวันละ­­­ 7 - 8 ชั่วโมง แต่ในกลุ่มผู้หญิงที่นอนหลับวันละ 9 - 11 ชั่วโมง จะมีอัตราที่น้อยกว่ามากหรืออาจจะไม่มีเลย


          แต่ถึงอย่างไรก็ตามการศึกษานี้ก็ยังไม่ได้ค้นพบว่าปัจจัยในเรื่­­­องเวลาของการนอนหลับมีความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพียงแต่การนอนหลับพักผ่อนในระยะเวลาที่เหมาะสมจะทำให้นาฬิกาชี­­­วิต และระบบการทำงานของฮอร์โมนรวมทั้งรอบเดือนเป็นไปได้อย่างปกติทำ­­­ให้มีผลดีต่อผู้ที่ต้องทำการผสมเทียมที่จะมีร่างกายที่พร้อมแล­­ะ­แข็งแรงค่ะ

5.เพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้า 

        การศึกษาในปี 2014 ที่ซึ่งทำการศึกษากับแฝดคู่หนึ่งพบว่า การนอนหลับมากจนเกินไปจะไปเพิ่มอาการของโรคซึมเศร้าได้ โดยในการศึกษาได้แบ่งให้อาสาสมัครคนหนึ่งนอนหลับวันละ 7 ชั่วโมง และอีกคนให้นอนหลับ 9 ชั่วโมง ซึ่งผลออกมาว่าผู้ที่นอนหลับคืนละ 7 ชั่วโมงจะมีสัดส่วนของอาการของโรคซึมเศร้าเพียง 27 % แต่คนที่นอนหลับวันละ 9 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นจะมีอัตราส่วนอาการเพิ่มขึ้นถึง 49 % เลยทีเดียว




        อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วย ยาเกร็กคู ยาที่มีประโยชน์ทำจากสมุนไพรไม่มีสารตกค้างในร่างกายผู้หญิงทานได้ผู้ชายทานดี ได้รับรางวัล ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2558 จากสภาเคลือข่ายสถาบันส่งเสริมพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย

http://www.grakcudonmuang.com/product/101/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B9-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2

Saturday, March 14, 2015

มะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายรักษาได้

โรคมะเร็งเต้านม ระยะสุดท้าย รักษาได้

           มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย และผู้หญิงทั่วโลก ในทุกๆ 1 นาทีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม 1 ราย สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลก (Globocan) เปิดเผยสถิติจากการสำรวจในปี 2555 พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมทั่วโลกทั้งสิ้นราว 6,255,000 ราย สำหรับประเทศไทยนั้นพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กว่า 54,000 ราย และในทุกๆ 2 ชั่วโมงจะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านม รายใหม่ถึง 3 ราย ซึ่งยังไม่นับรวมผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ยังตรวจไม่พบ หรือยังไม่ได้เข้ารับการรักษา

ผู้หญิงไทยมีอัตราการเสียชีวิต จากโรคมะเร็งเต้านมถึงวันละ 14 ราย มะเร็ง เต้านมจึงเรียกได้ว่าเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่ผู้หญิง ทุกคนควรระวังและเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองให้ ห่างไกลโรค เมื่อเป็นแล้วก็ต้องรู้จักรักษาให้ ถูกต้องกับสายพันธุ์ของมะเร็งที่เป็น เพื่อยืดอายุให้มีชีวิตอยู่เติมเต็มความสุขในครอบครัวได้ยาวนานยิ่งขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าพันธุกรรมมีส่วนสำคัญ ซึ่งพบว่าคนที่มีญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่จะมีความ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม สูงกว่าคนปกติทั่วไป นอกจากนั้น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ฮอร์โมนเสริม รับประทานอาหารขยะ สัมผัสย่าฆ่าแมลง การปล่อยตัวให้อ้วน รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย และพฤติกรรมการใส่ เสื้อชั้นในที่ไม่เหมาะสม เช่น ใส่เสื้อชั้นในนานเกินวันละ 20 ชั่วโมง ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการก่อตัวของมะเร็งเต้านม ดังนั้นผู้หญิงทุกคน จึงควรรับการตรวจมะเร็งทุกปี และหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว ควรตรวจให้แน่ชัดว่า เป็นสายพันธุ์ใด เพื่อรับการรักษาให้ตรงตาม เป้าหมาย เพราะหากรู้ก่อนมีโอกาสรักษาให้ หายได้

 มะเร็งเต้านมมี 3 สายพันธุ์ใหญ่ 

 คือ 1. สายพันธุ์ตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งเป็นประเภทที่พบมากที่สุด 

      2.สายพันธุ์เฮอร์ทู พบได้ประมาณ 20% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด 

      3.ชนิดไตรโลปะที่ยัง ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน พบได้ประมาณ 15% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด 

         ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมและได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ยังคงมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมได้อีก เพราะความผิดปกติของยีนส์บางอย่างในร่างกาย หรือจากสาเหตุบางประการ เช่น การหลงเหลือของเซลล์มะเร็งต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ ในร่างกาย รวมถึงการดื้อยาที่แพทย์สั่ง การได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ล่าช้า และภูมิคุ้มกัน ในร่างกายต่ำ 

ระยะเวลาเฝ้าระวังการ กลับมาเป็นซ้ำหลังจากรักษาประมาณ 12 ปี ซึ่งการกลับมาเป็นซ้ำมี 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1.การกำเริบเฉพาะที่ 

2.การกำเริบในบริเวณข้างเคียง

3.การกำเริบแบบมีการแพร่กระจาย ซึ่งการรักษาในกรณีที่มีการกำเริบและแพร่ะกระจายไปยังอวัยวะอื่นนั้นมักหวัง ผลเพื่อยืดชีวิตของผู้ป่วย รักษาคุณภาพชีวิต และบำบัดอาการของโรคเป็นหลัก

          ปัจจุบันยาฉีดเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมสายพันธุ์เฮอร์ทู ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศอื่นๆ รวมกว่า 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วยได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทาง การแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมมีชีวิตยืนยาวขึ้นแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอง ตลอดจน กำลังใจจากคนใกล้ชิดก็ยังคงมีส่วนสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมควรมาพบแพทย์ตามนัด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง รักษาสุขภาพกาย และใจให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น และลดอาหารจำพวกเนื้อแดง รวมถึงเนื้อที่ผ่านการแปรรูป หลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสี ออกกำลังกาย งดการดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ และทำจิตใจให้สดชื่น เข้มแข็ง เพื่อให้มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคและมีชีวิตอยู่กับคนที่รักให้นานที่สุด


http://www.grakcudonmuang.com/product/104/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87


              สรรพคุณ : แก้ปวดประจำเดือน มดลูกหย่อน ปวดน่วง เสียวท้องน้อย ผู้หญิงที่มีบุตรยาก กระชับช่องคลอดแทนการทำรีแพร นํ้าหล่อเลื่นแห้ง ดับกลิ่นถภายในช่องคลอด เป็นซีสท์ ขับนํ้าคาวปลาแทนการอยู่ไฟหลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ลดอาการวัยทอง เช่น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ช่วยให้ผิวพรรณเนียน ผิวกระจ่างใส สีผิวไม่สมํ่าเสมอ ลดริ้วรอย ลบเลือนฝ้า เพิ่มเสน่ห์แบบสาวแรกรุ่น และยังช่วยในส่วนของการเสริมสร้างกระดูก ป้องกันกระดูกผุ กระดูกเปาะ กระดูกพรุน กระดูกบาง

























Thursday, March 5, 2015

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ





          โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันบนผนังของหลอดเลือดแดงที่ไป เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแคบลง ลดปริมาณของออกซิเจนไปยังหัวใจ  ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ หรือหัวใจวาย  โรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดขึ้นเมื่อไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสะสมบนผนัง หลอดเลือดแดงและสร้างคราบ  กระบวนการนี้เรียกว่าภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว  เมื่อหลอดเลือดแคบลงและการไหลเวียนของเลือดลดลงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับ ออกซิเจนไม่เพียงพอ สร้างความเสียหายให้กล้ามเนื้อหัวใจและนำไปสู่อาการหลาย ๆ อย่างซึ่งอาจจะร้ายแรง

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

         โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือด แดง พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีดังนี้  การสูบบุหรี่  การมีน้ำหนักเกิน การดำเนินชีวิตอย่างเฉื่อยชา  เป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  คอเลสเตอรอลสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป  ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียดและภาวะซึมเศร้า
 

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ  

1.การหายใจเหนื่อยหอบเมื่อออกกำลังกายเป็นสิ่งเดียวที่เป็นอาการของโรค ทำให้ไม่ทราบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจนกระทั่งมีอาการเจ็บหน้าอกหรือมีอาการหัวใจวาย

2.เจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกเกิดเมื่อเลือดที่จะไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไป  อาการนี้มักเกิดเมื่อออกแรงมาก ๆ หรือมีอารมณ์โกรธหรือจิตใจเครียด  นอกจากนี้ยังอาจเกิดเมื่อถูกอากาศเย็น ๆ หรือหลังรับประทานอาหารอิ่มจัด อาจมีอาการดังต่อไปนี้  ความรู้สึกไม่สบายหรือจุกแน่นยอดอก  เจ็บร้าวที่คอ ขากรรไกร ลำคอ หลัง หรือแขน  เหนื่อยหอบ หายใจขัด อาการมักเป็นนาน ๒-๓ นาที แล้วหายไปเมื่อได้พัก หรือหยุดกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุชักนำ บางครั้งก็หายไปเองเมื่อออกกำลังกายไปเรื่อย


3.หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจทำให้หัวใจอ่อนแอและนำไป สู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งหมายถึงไม่แข็งแรงพอที่จะสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้เหนื่อยได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ข้อเท้าและขาบวมได้

4.หัวใจวาย การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจทำให้ปิดกั้น หลอดเลือดแดงอย่างสมบูรณ์  เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจวาย อาการหัวใจวายเกิดได้โดยไม่ต้องมีอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่น ๆ มาก่อน และอาจรวมถึงอาการเหล่านี้  รู้สึกหนักหรือบีบเค้นในใจกลางของหน้าอก  เจ็บร้าวแพร่กระจายไปยังแขน  คอ ขากรรไกร ใบหน้า หลัง หรือท้อง  รู้สึกวิงเวียน  หายใจขัด เหงื่อแตก ความรู้สึกป่วยหรืออาเจียน  เป็นไปได้ว่าคนไข้อาจไม่มีอาการใด ๆ เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่

5.หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากกล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหาย หรือตาย อาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจค่อย ๆ พัฒนาไปเมื่อโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นมากขึ้น อาจจะรู้สึกใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง หรืออาจจะไม่สังเกตเห็นมันเลยก็ได้ ภาวะที่ร้ายแรงที่สุดคือ อาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นโดยสิ้นเชิง

การดูแลรักษาผู้ป่วย

1.การใช้ยา ยาใช้ลดอาการ ทำให้อาการไม่เลวร้ายลง หรือป้องกันหัวใจวายในอนาคต  มียาหลากหลายที่ใช้ในการรักษาโดยตัวยาทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่  ยาต้านการแข็งตัวของเลือด  เช่นแอสไพริน ยาลดคอเลสเตอรอล หากใช้ยาแล้วยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ  เพื่อหารือเกี่ยวกับการรักษาวิธีอื่น ๆ เช่น  การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

2.การดูแลตัวเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจจะช่วยลดอาการ หรือป้องกันอาการหัวใจวาย แต่มักจะไม่เพียงพอ  แพทย์อาจจะยังแนะนำให้ใช้ยาและรับการรักษาอื่น ๆ

3.การออกกำลังกาย ออกกำลังกายไม่หักโหมจนเกินไป ออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

5.ทำจิตใจให้แจ่มใส หางานอดิเรกที่ตนเองชอบทำ ไม่เครียด

6.บุคคลใกล้ชิดควรให้กำลังใจ และดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ