โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันบนผนังของหลอดเลือดแดงที่ไป เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแคบลง ลดปริมาณของออกซิเจนไปยังหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ หรือหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดขึ้นเมื่อไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสะสมบนผนัง หลอดเลือดแดงและสร้างคราบ กระบวนการนี้เรียกว่าภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว เมื่อหลอดเลือดแคบลงและการไหลเวียนของเลือดลดลงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับ ออกซิเจนไม่เพียงพอ สร้างความเสียหายให้กล้ามเนื้อหัวใจและนำไปสู่อาการหลาย ๆ อย่างซึ่งอาจจะร้ายแรง
สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือด แดง พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีดังนี้ การสูบบุหรี่ การมีน้ำหนักเกิน การดำเนินชีวิตอย่างเฉื่อยชา เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียดและภาวะซึมเศร้า
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
1.การหายใจเหนื่อยหอบเมื่อออกกำลังกายเป็นสิ่งเดียวที่เป็นอาการของโรค ทำให้ไม่ทราบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจนกระทั่งมีอาการเจ็บหน้าอกหรือมีอาการหัวใจวาย
2.เจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกเกิดเมื่อเลือดที่จะไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไป อาการนี้มักเกิดเมื่อออกแรงมาก ๆ หรือมีอารมณ์โกรธหรือจิตใจเครียด นอกจากนี้ยังอาจเกิดเมื่อถูกอากาศเย็น ๆ หรือหลังรับประทานอาหารอิ่มจัด อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ความรู้สึกไม่สบายหรือจุกแน่นยอดอก เจ็บร้าวที่คอ ขากรรไกร ลำคอ หลัง หรือแขน เหนื่อยหอบ หายใจขัด อาการมักเป็นนาน ๒-๓ นาที แล้วหายไปเมื่อได้พัก หรือหยุดกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุชักนำ บางครั้งก็หายไปเองเมื่อออกกำลังกายไปเรื่อย
ๆ
3.หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจทำให้หัวใจอ่อนแอและนำไป สู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งหมายถึงไม่แข็งแรงพอที่จะสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้เหนื่อยได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ข้อเท้าและขาบวมได้
4.หัวใจวาย การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจทำให้ปิดกั้น หลอดเลือดแดงอย่างสมบูรณ์ เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจวาย อาการหัวใจวายเกิดได้โดยไม่ต้องมีอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่น ๆ มาก่อน และอาจรวมถึงอาการเหล่านี้ รู้สึกหนักหรือบีบเค้นในใจกลางของหน้าอก เจ็บร้าวแพร่กระจายไปยังแขน คอ ขากรรไกร ใบหน้า หลัง หรือท้อง รู้สึกวิงเวียน หายใจขัด เหงื่อแตก ความรู้สึกป่วยหรืออาเจียน เป็นไปได้ว่าคนไข้อาจไม่มีอาการใด ๆ เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่
5.หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากกล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหาย หรือตาย อาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจค่อย ๆ พัฒนาไปเมื่อโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นมากขึ้น อาจจะรู้สึกใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง หรืออาจจะไม่สังเกตเห็นมันเลยก็ได้ ภาวะที่ร้ายแรงที่สุดคือ อาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นโดยสิ้นเชิง
การดูแลรักษาผู้ป่วย
1.การใช้ยา ยาใช้ลดอาการ ทำให้อาการไม่เลวร้ายลง หรือป้องกันหัวใจวายในอนาคต มียาหลากหลายที่ใช้ในการรักษาโดยตัวยาทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นแอสไพริน ยาลดคอเลสเตอรอล หากใช้ยาแล้วยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับการรักษาวิธีอื่น ๆ เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
2.การดูแลตัวเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจจะช่วยลดอาการ หรือป้องกันอาการหัวใจวาย แต่มักจะไม่เพียงพอ แพทย์อาจจะยังแนะนำให้ใช้ยาและรับการรักษาอื่น ๆ
3.การออกกำลังกาย ออกกำลังกายไม่หักโหมจนเกินไป ออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
5.ทำจิตใจให้แจ่มใส หางานอดิเรกที่ตนเองชอบทำ ไม่เครียด
6.บุคคลใกล้ชิดควรให้กำลังใจ และดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ
No comments:
Post a Comment